1. การให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับครู
การให้คำปรึกษาเบื้องต้น คือ กระบวนการที่สร้างความปฏิสัมพันธ์โดยอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้ให้คำปรึกษา (ครู) และผู้ขอรับคำปรึกษา (นักเรียน) ได้สำรวจและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นปัญหาและหาหนทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ครูมีแนวทาง และมีวิธีการอย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงมีเทคนิคและทักษะที่สามารถเปิดใจรับฟัง และให้คำปรึกษากับนักเรียนที่มีปัญหาหรือความขัดแย้งในจิตใจ และให้ความช่วยเหลือต่อนักเรียน รวมถึงสร้างความไว้วางใจให้กับนักเรียน
ในการเข้ามาขอรับความช่วยเหลือจากครูมากขึ้น โดยส่วนของการทำ Workshop มีหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. ทักษะการสื่อสาร (communication skills)
2. ทักษะการฟัง (Active listening skills)
3. ทักษะเบื้องต้นในการให้คำปรึกษา (Basic counselling skill)
4. การสร้างบรรยากาศให้เกิดความปลอดภัย
5. การส่งต่อ
6. การแสดงบทบาทสมมติ (Role play)
2. หลักการปรับพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่น
ทักษะการปรับพฤติกรรมมีความสำคัญในการให้การช่วยเหลือและสร้างทักษะที่จำเป็นให้เด็กสามารถใช้ชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบัน การอบรมนี้ในหลักการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive discipline) ที่มีการฝึกทักษะต่าง เช่น การให้แรงเสริม การลงโทษที่เหมาะสม เป็นต้น เพื่อให้ครูสามารถปรับใช้กับเด็กในชั้นเรียนได้ หัวข้อในการฝึกอบรมมีดังนี้
1. หลักการปรับพฤติกรรม
2. วิธีการสร้างสัมพันธภาพกับเด็ก
3. การให้แรงเสริมเพื่อสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสม
4. การลงโทษเพื่อลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
3. การจัดการอารมณ์ ความเครียด การจัดการภาวะหมดไฟในครู และทักษะการจัดการปัญหา (Problem Solving Skill)
หัวข้อนี้เน้นการส่งเสริมสุขภาพจิตของครูทั้งในด้านหาวิธีให้ครูสามารถจัดการความเครียดและอารมณ์
เชิงลบด้วยตนเอง เพราะถ้าหากครูสามารถจัดปัญหาสุขภาพจิตของตนเองได้ดี ก็จะสามารถป้องกันปัญหาภาวะหมดไฟ (burn out) ในอนาคตได้อีกด้วย นอกจากนี้หัวข้อนี้ยังฝึกให้ครู (และครูสามารถนำไปฝึกให้เด็ก)
ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย ดังนั้นหัวข้อในการทำ Workshop จึงประกอบไปด้วย
1. การสำรวจอารมณ์ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ
2. การสร้างประสบการณ์การหยุดพฤติกรรมเมื่อมีอารมณ์เชิงลบ
3. การสร้างพฤติกรรมที่ช่วยลดอารมณ์ทางลบ
4. การฝึกผ่อนคลายผ่านการหายใจ(breathing exercise)
5. การแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม (Problem solving skills)
4. EF ในเด็กและวัยรุ่น และ Growth Mindset/Soft Skill
Executive function เป็นวิธีการดูแลเด็กตามหลักจิตวิทยาในยุคใหม่ โดยให้ความสำคัญของการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้นหัวข้อการอบรมนี้จึงเน้นพัฒนาสมองส่วนหน้า (frontal lobe) ที่มีส่วนในการส่งเสริมทักษะและช่วยควบคุมให้เด็กทำพฤติกรรมที่มีความหมาย นอกจากนั้น ยังมีวิธีการส่งเสริมทักษะที่สำคัญที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย การทำ workshop นี้ประกอบไปด้วย
1. กิจกรรมพัฒนาทักษะสมองขั้นสูงทั้ง 9 ด้าน
2. การออกแบบกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะสมองขั้นสูงทั้ง 9 ด้าน
3. ทักษะการคิดเพื่อการเติบโต (Growth mindset)
4. กิจกรรมที่ช่วยพัฒนา Soft skills (4C) ได้แก่
4.1 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
4.2 การใช้ความคิดเชิงการวิเคราะห์ (Critical thinking)
4.3 การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
4.4 การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (Communication)