1. แนะนำตัวกันหน่อยค่ะ
“สวัสดีครับ……ครูศร/ครูนุ่น/ครูโบว์/ครูโม นักจิตวิทยาคลินิก/พยาบาลจิตเวชเด็ก ศูนย์ morning mind ครับ”
2. สุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างไรกับเด็กและวัยรุ่น?
“…จริงๆ สำคัญทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กอยู่ในท้องจนกระทั่งถึงวัยชรา สุขภาพจิตส่งเสริมให้คนสามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถผ่านวิกฤติชีวิตได้ มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนอื่น ช่วยให้เขาเติบโตได้อย่างมีความสุข มีความคิดที่ยืดหยุ่นปรับตัวได้ดี สามารถจัดการกับสภาพจิตใจของตนเองได้ครับ”
3. ผลลัพธ์ของเด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดีกับไม่ดีมีความแตกต่างกันอย่างไร ?
“…เด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดี ก็จะมองโลกในแง่ดี เห็นถึงความพยายามของตนเองในการที่จะประสบความสำเร็จ กล้าที่จะเปิดรับประสบการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต ปรับตัวกับความท้าทายใหม่ และใช้ชีวิตอย่างอิสระ เด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดี จะสามารถรับรู้และรับมือกับภาวะอารมณ์ มีความคิดที่ยืดหยุ่น มีความเข้าอกเข้าใจทั้งตนเองและผู้อื่น จะช่วยเสริมสร้างให้เขามองเห็นคุณค่าในตนเอง หรือที่เรียกว่า Self-esteem และยังมองเห็นคุณค่าในตัวของบุคคลอื่น ซึ่งทำให้เขาสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเทียบกับเด็กที่มีสุขภาพจิตที่มีปัญหา เมื่อเกิดปัญหาเข้ามาในชีวิตอาจใช้เวลาอย่างมากอยู่กับอารมณ์ทางลบของตนเอง จนไม่สามารถหาทางออกหรือการจัดการกับอารมณ์และปัญหาของตนได้อย่างเหมาะสม”
“…เด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตก็จะตรงข้ามกับเด็กที่มีสุขภาพจิตดี เด็กเหล่านี้ยากลำบากในการดึงศักยภาพของตนเองที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ เด็กมีทัศนคติเชิงลบต่อโลก มีปัญหาพฤติกรรมมากมาย แทนที่พ่อแม่จะส่งเสริมให้เด็กเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่ง แต่ต้องกลับมาคอยแก้ไขปัญหาต่างๆ จนทำให้เด็กสูญเสียโอกาศและขาดทักษะที่จะเป็นในการพัฒนาตนเอง ส่งผลให้การใช้ชีวิตค่อนข้างยากลำบากในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ บางคนอื่นมีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วยครับ”
4. ในโรงเรียนเด็กที่มีสุขภาพจิตที่ดีจะแสดงออกมายังไงในโรงเรียน?
“เด็กจะจัดการอารมณ์ได้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์และปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ คงสมาธิ และมีความสนุกในการเรียนรู้ ปัญหาพฤติกรรมต่างๆ ในโรงเรียนลดลง เช่น การทะเลาะ ความก้าวร้าว ปัญหายาเสพติด ปัญหาทางเพศ หรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำผิดกฎหมายน้อยลง เป็นต้น”
5. ในโรงเรียน พบปัญหาของเด็กและวัยรุ่นอย่างไรบ้าง?
“มีปัญหาหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและสภาพครอบครัว มีโรคใหม่ๆ เกิดมากมาย หรือโรคที่มีในอดีตและคนทั่วไปไม่ได้สนใจ …มีเด็กจำนวนหนึ่งที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์ และเกิดขึ้นในอายุที่น้อยลง เช่น ซึมเศร้า มีความคิดทำร้ายตนเอง ตลอดจนต้องการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางโรงเรียนและผู้ปกครองจัดการได้ยาก หากไม่ได้รับการแก้ไข ช่วยเหลือ เด็กเหล่านี้ก็ยากที่จะปรับตัวในโรงเรียน การใช้ชีวิต และอาจจะกลับมาเป็นปัญหาให้กับสังคมในอนาคต “
6. ทางทีมนักจิตวิทยาจะช่วยเหลือครูในแง่มุมไหนบ้าง?
“เป็นการดูแลแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ในเรื่องต่างทางด้านสุขภาพจิตโรงเรียน ,การประเมินคัดกรอง,การทำ workshop , ประชุมกรณีศึกษา และการให้คำปรึกษาครูในการดูแลเด็กเป็นรายบุคคล, นอกจากนั้นยังมีโปรแกรมในการช่วยเหลือครูที่มีความเครียดและปัญหาสุขภาพจิตครับ”
7. โปรแกรมที่ทีมกำลังทำอยู่มีรูปแบบอย่างไร?
“มีทั้งการฝึกอบรม ให้ความรู้ การให้คำปรึกษาปัญหาพฤติกรรมนักเรียน สุขภาพจิตครู โดยโรงเรียนสามารถเลือกโปรแกรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของโรงเรียน หรือบางครั้งโรงเรียนเล็งเห็นว่าในอนาคตเรื่องจะเป็นปัญหา จึงมีการเตรียมพร้อมครูก็ได้ หรือในบางโรงเรียนมองว่าครูสามารถจัดการปัญหาได้แล้ว แต่อยากพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ก็จะมีโปรแกรมให้ด้วยครับ”
8. ตัวอย่างโปรแกรมยอดฮิตที่โรงเรียนต้องการ (พร้อมรายละเอียด)
การอบรมยอดนิยมมี : เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก, การส่งเสริมศักยภาพเด็กโดยใช้เทคนิค EF, เทคนิคการให้คำปรึกษาเบื้องต้นและให้การช่วยเหลือเมื่อเด็กอยู่ในภาวะวิกฤต
9. หาก รร.ได้รับการอบรมหรือเข้าโปรแกรมนี้จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงในตัวโรงเรียนบ้าง?
“จริงๆครูแต่ละโรงเรียนมีความสามารถในการจัดการกับพฤติกรรมเด็กได้ดีอยู่แล้ว แต่โปรแกรมนี้จะช่วยเพิ่มเติมทักษะทางจิตวิทยาที่ครูมีให้เพิ่มความมั่นใจ เสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ในการจัดการพฤติกรรมและอารมณ์เด็ก เพื่อให้ครูได้เป็นคนที่เข้าอกเข้าใจเด็กจนเด็กยอมรับครู ง่ายต่อการปรับพฤติกรรม และครูก็จะมีแนวทางในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่หลากหลายของนักเรียนมากขึ้นครับ”
10. คำกล่าวปิดท้าย?
“อยากให้ครูดูแลเด็กอย่างมีความสุข”
“Happy teachers will change the world”.