1. การดูแลนักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เป็นผลมาจากปัญหาของกระบวนการคิดหรืออารมณ์
ผ่านประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาจากการสร้างปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดู ชุมชน หรือโรงเรียน ปัญหานี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในด้านต่างๆ อาทิเช่น ด้านการเรียน ด้านสังคม การปรับตัว การสร้างความสัมพันธ์กับคนอื่น และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เด็กบางคนอาจแสดงออกมาในลักษณะของความเครียดหรือไม่มีความสุข หรือแสดงออกมาเป็นอาการทางกาย พฤติกรรมเกเรต่อต้าน หรือพฤติกรรมที่อยู่นอกกฎเกณฑ์ ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากไม่ได้รับการแก้ไขในวัยเด็ก อาจส่งผลให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นลักษณะการบรรยายจะมีหัวข้อดังนี้
1. ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
2. สาเหตุการเกิดของเด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
– ปัจจัยภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง
– โรคทางจิตเวชที่ส่งผลให้เกิดปัญหาพฤติกรรมอารมณ์ในเด็ก
3. บทบาทของครูในการให้การช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงแนวทางในการทำการศึกษาเป็นรายกรณี(Case study)
2. การแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งกันในโรงเรียน
ปัจจุบัน การกลั่นแกล้งกัน (Bully) กันในโรงเรียนไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งผู้ที่ถูกกลั่นแกล้ง (Victim) ผู้กลั่นแกล้ง (Bully) และผู้เห็นเหตุการณ์ (Witness) การกลั่นแกล้งกันในโรงเรียนมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เช่นการทำร้ายร่างกาย การข่มขู่ การเรียกทรัพย์ การปล่อยข่าวลือ ปฏิเสธการเข้ากลุ่ม ทำให้เพื่อนกลายเป็นตัวตลก หลายครั้งการกลั่นแกล้งส่งผลร้ายแรงทำให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตาย ดังนั้นการลดการกลั่นแกล้งในโรงเรียนลง จะทำให้เด็กนักเรียนมีความสุขในการมาโรงเรียนมากขึ้นและช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตของเด็กอีกด้วย โดยหัวข้อในการให้ความรู้ครอบคลุมเนื้อหาต่อไปนี้
1. ทัศนคติและความเชื่อของการกลั่นแกล้งรังแก
2. แค่ไหนที่เรียกว่าการกลั่นแกล้ง
3. วัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงเรียน
4. การให้ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ถูกต้องต่อการกลั่นแกล้งรังแก
5. การประสานร่วมมือกับผู้ปกครองเพื่อป้องกันและแก้ไขการกลั่นแกล้งรังแกกันในโรงเรียน
6. แนวทางการจัดการปัญหาเมื่อพบการกลั่นแกล้งรังแก
3. การจัดการอารมณ์และความเครียดของครู
เมื่อพูดถึงโรงเรียน คนส่วนมากจะให้ความสำคัญกับเด็ก ทั้งในด้านการเรียน ด้านสุขภาพกาย
และสุขภาพจิต โดยมักจะลืมคนสำคัญที่เป็นผู้ที่คอยดูแลให้ความช่วยเหลือเด็ก หากต้องการให้เด็กมีคุณสมบัติด้านบวกที่ดี “ครู” ผู้ดูแลเด็กก็ต้องมีวิธีการดูแลตัวเอง สามารถจัดการความเครียดและอารมณ์เชิงลบได้
ในการบรรยายนี้จะพูดถึงวิธีการที่จะให้ครูได้สำรวจอารมณ์ตนเอง และมีวิธีการจัดการอารมณ์และความเครียด เพื่อให้ครูได้แสดงศักยภาพในการช่วยเหลือเด็กได้อย่างเต็มที่ และลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตในอนาคต ดังนั้นการบรรยายจะประกอบไปด้วยหัวข้อดังนี้
1. ความหมายและประเภทของอารมณ์
2. ความสำคัญของอารมณ์
3. ความแตกต่างระหว่างความคิดและอารมณ์
4. ความหมายของความเครียด
5. การสังเกตอารมณ์และความเครียด
6. ผลกระทบของความเครียด
7. แบบประเมินวัดความเครียด
8. การจัดการความเครียด (Stress management)
4. หลักการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
การให้คำปรึกษาเบื้องต้น คือ กระบวนการที่สร้างความปฏิสัมพันธ์โดยอาศัยการสื่อสารระหว่าง
ผู้ให้คำปรึกษา (ครู) และผู้ขอรับคำปรึกษา (นักเรียน) โดยผ่านการสำรวจและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นปัญหาและหาหนทางในการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยให้ครูมีแนวทาง วิธีการ
อย่างเป็นขั้นตอน รวมถึงมีเทคนิคและทักษะที่สามารถเปิดใจรับฟัง และให้คำปรึกษากับนักเรียนที่มีปัญหา
หรือความขัดแย้งในจิตใจ และให้ความช่วยเหลือต่อนักเรียน รวมถึงสร้างความไว้วางใจให้กับนักเรียน
ในการเข้ามาขอรับความช่วยเหลือจากครูมากขึ้น โดยส่วนของการบรรยายมีหัวข้อต่างๆ ดังนี้
1. หลักการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
2. ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา
3. เทคนิคการให้คำปรึกษา
4. ทักษะการให้คำปรึกษา
5. การฝึกใช้เทคนิคและทักษะในการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
5. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในโรงเรียน
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในโรงเรียน และเป็นเรื่องใกล้ตัวครูและนักเรียน เด็กนักเรียนจำนวนมากสามารถเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย เพราะอยู่ในชุมชน นักเรียนบางจำนวนไม่สามารถจำแนก
ได้ถึงอันตรายของยาเสพติดเหล่านั้น ดังนั้นบทบาทครูจึงมีความจำเป็นในด้านการสังเกต ช่วยเหลือ ป้องกัน และแก้ไขเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนห่างไกลยาเสพติด ดังนั้นในส่วนของการบรรยายจะมีหัวข้อดังนี้
1. ประเภทของยาเสพติด วิธีการเสพและการออกฤทธิ์
2. ลักษณะของเด็กที่มีความเสี่ยงในการใช้ยาเสพติด
3. การให้การช่วยเหลือเด็กที่ใช้ยาเสพติด
4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนให้ห่างไกลยาเสพติด
5. นโยบายยาเสพติดของรัฐบาลและการปรับตัวของโรงเรียน
6. การสอนเพศศึกษาในเด็ก
เพศศึกษาเป็นสิ่งที่สามารถสอนเด็กได้ทุกช่วงวัยตั้งแต่เด็กเกิด ครูมีบทบาทสอนเด็กในเรื่องนี้ตั้งแต่อนุบาลจนถึงวัยรุ่น แต่วิธีการสอนมีความแตกต่างออกไปตามช่วงวัย การสอนจึงมุ่งเน้นบทบาทของครูในการเป็นตัวอย่าง การสอนให้ความรู้ และการเป็นที่ปรึกษาเรื่องเพศให้กับเด็ก เพื่อให้เด็กปรับตัวในเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสม ส่วนของการบรรยายตามหัวข้อดังนี้
1. ปัญหาทางเพศที่พบในเด็กไทย
2. พัฒนาการทางเพศของเด็กในแต่ละช่วงวัย
3. การส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมในเรื่องเพศ
4. การสอนในเรื่องการป้องกัน และการแก้ปัญหาเมื่อมีปัญหาทางเพศ LGBTQ+
5. บทบาทสมมติเมื่อเด็กมาขอคำปรึกษา
7. โรคจิตเวชที่พบบ่อยในโรงเรียน การสังเกตอาการและการใหความช่วยเหลือเบื้องต้น
โรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นกับเด็กและวัยรุ่นมีมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม ในหัวข้อนี้
ให้ความสำคัญของ 4 โรคหลักที่มักพบในเด็กและวัยรุ่น ได้แก่ ADHD, LD, ID, Autistic และโรคทางอารมณ์และพฤติกรรมอื่นๆ ที่อาจพบได้ในโรงเรียน เช่น โรคซึมเศร้า Conduct เป็นต้น คุณครูจะได้ข้อมูล วิธีการสังเกต และการให้การช่วยเหลือเบื้องต้น รวมถึงวิธีการส่งตัวเด็กเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาล หัวข้อในการบรรยายมีดังนี้
1. โรคทางจิตเวชที่พบบ่อยในโรงเรียน 4 โรค
2. โรคที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรม
3. การสังเกตอาการของเด็ก
4. การให้การช่วยเหลือเบื้องต้น
5. การส่งต่อไปยังโรงพยาบาล
8. แบบคัดกรองและแบบประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นที่ใช้ในโรงเรียน
แบบคัดกรองและแบบประเมินสุขภาพจิตสำหรับเด็กมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ครูสามารถเข้าใจปัญหาของเด็ก สามารถจำแนกเด็กได้ว่าต้องการความช่วยเหลือในด้านใด และเป็นตัวช่วยในการประเมินความก้าวหน้าของการให้การช่วยเหลือ ดังนั้นในการบรรยายนี้จึงได้รวบรวมแบบคัดกรองและแบบประเมิน
ที่ครูและโรงเรียนสามารถนำมาใช้กับเด็กได้ หัวข้อในการบรรยายมีดังนี้
1. ความรู้ทั่วไปของแบบคัดกรองและแบบประเมิน
2. การแยกประเภทแบบคัดกรอง และการใช้แบบคัดกรองให้เหมาะสมกับปัญหาเด็ก
3. การสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ
4. การทดลองใช้แบบคัดกรอง
5. การสรุปผลและเขียนรายงาน
9. การจัดการและการป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงาน
ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือภาวะเครียดเรื้อรังจากการทำงานที่ไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้เกิด
ความอ่อนแรง รู้สึกไม่มีคุณค่า และส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตในระยะยาว เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ดังนั้น
ในการบรรยายครั้งนี้ จะนำคุณครูมาสำรวจ และหาวิธีช่วยเหลือตนเองเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหมดไฟ
โดยหัวข้อในการบรรยายมีดังนี้
1. ความหมายภาวะหมดไฟ
2. สัญญาณของภาวะหมดไฟ
3. วิธีจัดการและรับมือเมื่อเกิดภาวะหมดไฟ
4. การป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟ
5. แบบประเมินภาวะหมดไฟ
10. การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม EF และทักษะที่จำเป็นของเด็กในศตวรรษที่ 21 (Growth Mindset/Soft Skill)
การส่งเสริมแนวทางให้กับครูได้เกิดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาทักษะสมองขั้นสูงให้กับนักเรียน
ผ่านการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะสมองขั้นสูง EF 9 ด้าน ได้แก่ ด้านความจำที่นำมาใช้งาน (Working- Memory) การยั้งคิดและควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในรับที่เหมาะสม (Inhibitory Control)
การยืดหยุ่นทางความคิดและปรับความคิดให้เหมาะสมต่อสถานการณ์ (Shift หรือ Cognitive Flexibility) การจดจ่อใส่ใจทำสิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง (Focus/Attention) การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) การวางแผนและการจัดลำดับความสำคัญอย่างเป็นขั้นตอน (Planning and Organizing) การรู้จักประเมินตนเอง (Self-Monitoring) การริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด (Initiating) และการมุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย
เพื่อไปสู่ความสำเร็จ (Goal-Directed Persistence) โดยครูสามารถคิดรูปแบบการทำกิจกรรมทักษะสมองขั้นสูงเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มีความสามารถทั้ง 9 ด้านเพิ่มขึ้น รวมถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นของเด็กในศตวรรษที่ 21 หรือเรียกอีกอย่างว่า Soft skill คือความสามารถในการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ ความสามารถในการดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข เพราะฉะนั้นเด็กจะต้องมีการว่องไวในการปรับเปลี่ยนตัวเองมากขึ้น
หัวข้อการบรรยาย
1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมอง และความสามารถทางสมองตามรูปแบบ EF
2. เทคนิคที่ครูสามารถนำไปใช้เพื่อการพัฒนาทักษะสมองขั้นสูง EF ให้นักเรียน
3. แนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะสมองขั้นสูง EF ให้กับนักเรียน
4. การสร้างแนวคิดเพื่อการเติบโต (Growth mindset)
5. แนวทางการพัฒนา Soft skills (4C) ได้แก่
5.1 ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
5.2 การใช้ความคิดเชิงการวิเคราะห์(Critical thinking)
5.3 การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
5.4 การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ (Communication)
11. การเข้าใจและการจัดการปัญหาเด็กยุคใหม่
ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยจากอดีตสู่ปัจจุบัน ทำให้เด็กในยุคใหม่มีพฤติกรรมและคุณลักษณะ
ที่ต่างจากอดีต ทำให้บางครั้งครูอาจไม่เข้าใจพฤติกรรมหรือคุณลักษณะบางอย่างในตัวเด็ก ในหัวข้อนี้ จะแสดงให้ครูเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละยุคสมัย ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเด็กในสมัยนี้ และวิธีการ
ในการให้ความช่วยเหลือเด็กให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตและสร้างคุณลักษณะดีๆ ในตัวเด็กได้โดยมีหัวข้อการบรรยายดังนี้
1. การเปลี่ยนแปลงของคนในแต่ละยุคสมัย
2. ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กในศตวรรษที่ 21
3. การให้การช่วยเหลือเด็กเพื่อให้สามารถปรับตัวได้